มลพิษทางอากาศภายในอาคาร เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยของคนที่อยู่ในอาคารที่เรียกว่า building related illness ทำให้เป็นอันตรายกว่าอากาศภายนอก การวิจัยแสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศภายในอาคาร สามารถเกิดปัญหาได้มากพอ ๆ กับมลภาวะภายนอกอาคาร ตามการวิจัยใหม่ Varnishes และสปอร์เชื้อรา ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีเครื่องวัดมลพิษทางอากาศ นั้นก็เพื่อรายงานคุณภาพอากาศ ที่อาจเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ มลพิษอากาศภายในอาคาร คือ ภาวะที่อากาศภายในอาคารมีสิ่งเจือปนอยู่ในปริมาณและระยะเวลาที่นานพอ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น ๆ โดยสามารถใช้เครื่องวัดมลพิษทางอากาศในการหาปริมาณฝุ่นละอองในอากาศบริเวณที่เราหายใจ แหล่งที่มาของมลพิษอากาศภายในอาคาร สถานที่ตั้งอาคาร ที่ตั้งอาคารที่อยู่ใกล้กับทางหลวงและถนนที่มีการจราจรคับคั่ง ซึ่งเป็นแหล่งของอนุภาคของแข็งที่ลอยอยู่ในอากาศ อาจจะทำให้เกิดสารมลพิษเข้าสู่อาคารได้ ดังนั้นควรมีเครื่องวัดมลพิษทางอากาศในการตรวจวัดปริมาณฝุ่น รูปแบบของตัวอาคาร ซึ่งอาจจะเกิดข้อผิดพลาดจากการออกแบบและก่อสร้าง หรือตำแหน่งของท่อน้ำอากาศเข้าสู่อาคารอยู่ในตำแหน่งที่มลพิษถูกดึงกลับเข้าสู่อาคาร การออกแบบระบบอาคารและการบำรุงรักษา เมื่อระบบความร้อน – เย็น และระบายอากาศ มีการทำงานที่ไม่เหมาะสม ความดันของอากาศในอาคารจะมีสภาพเป็นลบ ทำให้มลพิษทางอากาศจากภายนอกแทรกซึมผ่านเข้ามา การไหลเวียนอากาศเสียเฉพาะที่ เป็นแหล่งที่มาจากห้องครัว ห้องน้ำ หากไม่มีการระบายอากาศที่ดีพอ อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ วัสดุก่อสร้าง เกิดจากฉนวนกันความร้อน วัสดุกั้นเสียงที่ชำรุดเสียหาย ผนัง เพดาน พรม ม่าน ที่มีความชื้น เป็นต้น อาจเป็นแหล่งของสารมลพิษอากาศภายในอาคารได้ การดูแลบำรุงรักษา …
Category: Environment
สัตว์ที่สร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศมีอะไรบ้าง
สัตว์มีหลายประเภทมาก แต่ละประเภทก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทั้งนั้น และในวันนี้เราจะมาพูดถึง จระเข้เป็นสัตว์เก่าแก่เทียบได้กับยุคไดโนเสาร์เลยก็ได้ โครงสร้างของมันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย และในประเทศไทยมีจระเข้อยู่ 3 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม และจระเข้ตะโขง ความจริงแล้วจระเข้น้ำจืดของไทยใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที แต่จระเข้น้ำเค็มก็ยังพบได้บ้าง แถวจังหวัดพังงา ภูเก็ต หมู่เกาะตะรุเตา เป็นต้น และที่สำคัญจระเข้ที่อยู่ในประเทศไทยแทบจะไม่ทำร้ายคนเลย จระเข้ที่จู่โจมคนเรามักจะพบว่าอยู่ในต่างประเทศมากกว่า ความจริงแล้วสัตว์ตัวนี้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพระบบนิเวศของป่า แม่น้ำ และยังช่วยคัดพันธุกรรมของสัตว์ป่าที่อ่อนแอออกจากระบบ และที่สำคัญถ้าพบจระเข้ที่ไหนแสดงว่า ป่านั้นมีความสมบูรณ์อยู่มาก ตุ๊กแก มีอยู่ 78 ชนิดในไทย และมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆตลอดเวลา เป็นสัตว์เฉพาะถิ่น มีทั้งร้องได้และร้องไม่ได้ บางชนิดหากินกลางวัน บางชนิดหากินกลางคืน และตัวมันจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองปีละ 1 หนเท่านั้น ถ้ามันถูกจับประชากรจะลดลงเร็วมาก และมันเป็นตัวช่วยควบคุมแมลงสาปได้ด้วย . คางคกบ้าน เป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์และการมาเยือนของฤดูฝน โดยคางคกในประเทศไทยมี 6 สกุล และมันยังมีกลไกป้องกันตัวตลอดชีวิต เพราะว่ามันมีพิษจากต่อมพิษหลังตา และมนุษย์เองก็ใช้ประโยชน์จากพิษคางคกด้วย เพราะว่ายางคางคกตากแห้งใช้ผลิตตากระตุ้นหัวใจ…
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกายบ้าง และควรป้องกันอย่างไร
ทุกคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่น pm 2.5 ในประเทศของเรามาแล้ว สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่ค่าฝุ่นจะสูงเกินมาตรฐาน มักเป็นจังหวัดใหญ่ๆหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในจังหวัดนั้นที่มีการจราจรคับคั่ง หรือการเผาตอซังข้าวของชาวนาชาวไร่ หรือการเกิดไฟป่า ก็ทำให้มีค่าฝุ่นมากได้เช่นกัน และวันนี้หากใครยังไม่เข้าใจในเรื่องฝุ่น pm 2.5 วันนี้เราจะมาพูดในเรื่องนี้กัน เพื่อให้คุณเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น และป้องกันตัวเองได้ หากต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง คำว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร และลอยอยู่ในในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะเป็นฝุ่นขนาดเล็กมากๆ แต่พอมารวมตัวกันมากขึ้น ก็จะกลายเป็นฝุ่นควันอย่างที่เราเห็นกัน และด้วยความที่มีขนาดเล็กมาก จึงทำให้ฝุ่นตัวนี้ผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอด หลอดเลือด และเมื่อได้รับมากเข้าก็ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว สาเหตุของฝุ่น PM 2.5 มาจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง รวมทั้งควันต่างๆจากโรงงานอุตสาหกรรมด้วย โดยฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราคือ มันมีขนาดเล็กมากและสามารถผ่านเข้าไปสู่กระแสเลือดในร่างกายของเราได้ และยังกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ รบกวนสมดุลต่างๆในร่างกาย อันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกายอย่างมาก ใครที่โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือดก็กระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นได้ สำหรับการป้องกันนั้น ให้คุณลดใช้ยานพาหนะส่วนตัว ใช้ระบบขนส่งต่างๆแทน และไม่ควรเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง…
ปลูกพืชอะไรก็ไม่งาม ต้องแก้ดินที่ปลูก
หากคุณนั้นชอบการปลูกต้นไม้ แต่รู้สึกว่า ไม่ว่าคุณจะตั้งใจปลูกแค่ไหน ต้นไม้ก็ดูแคระแกร็นไม่สมบูรณ์สักที แล้วคุณเคยคิดหรือเปล่าว่ามันอาจเกิดจากดินที่คุณใช้ปลูกก็ได้ มันจะดีกว่าไหม ถ้าเรามาหาทางแก้ในเรื่องของดินที่ปลูกกัน โดยการทำให้ดินเกิดความสมบูรณ์มากที่สุด สำหรับดินดี ก็คือ เมื่อตักขึ้นมาแล้วต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน โดยปริมาตร คือ เนื้อดิน มีส่วนสำคัญมากที่สุด เพราะว่ามีบทบาทเป็นตัวกลางให้รากพืชได้ยึดและตั้งเป็นลำต้นด้วย และเนื้อดินนี้ควรมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ซึ่งเป็นค่าดินที่เหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุด ต่อมาเป็นอินทรียวัตถุ ได้มาจากการย่อยสยายของเศษซากของพืชหรือสัตว์ และทับถมกันอยู่ในดิน ที่สำคัญจะต้องมีปริมาณอยู่ที่ร้อยละ 5 ของดิน เพราะว่าจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และทำให้ดินร่วนด้วย ต่อมาในดินควรมีเรื่องของความชื้นอีกร้อยละ 25 เพราะดินดีต้องมีน้ำอยู่พอเพียง เพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตในดิน รากพืชมีชีวิตอยู่ได้ และความชื้นและน้ำยังช่วยละลายธาตุอาหารในดินเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนอากาศจะต้องมีร้อยละ 25 คือ ดินต้องโปร่ง ร่วนซุย จึงจะเป็นปัจจัยของดินที่ดี ความจริงแล้วถ้าดินเป็นแบบนี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีอะไรเลย แต่ว่าดินของเรามักโดนชะล้างจากน้ำฝนและจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินไม่สมบูรณ์อย่างที่ควร หลายคนจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อปรับสมดุลของดิน โดยจะมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชอย่างพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ส่วนถ้าคุณอยากฟื้นฟูดินโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีก็สามารถทำได้ โดยหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ให้คุณไถกลบตอซังลงดิน และหลังจากนั้นคลุมด้วยเศษหญ้าและฟางข้าว…